วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

เศรษฐศาสตร์มหภาค

เศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค (อังกฤษ:
Macroeconomics) เป็นการศึกษา
ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม
เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ
การจ้างงาน การเงิน
และการธนาคาร การพัฒนาประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้น
เป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค
เพราะว่าไม่
ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น
แต่จะกระทบถึงบุคคล
หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด
และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น
จะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น
(GNP) และการว่าจ้างงาน
จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุ
ให้ผลิตผลรวม
และระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง
เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ
ได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด
และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค
จะเน้นหน่วยเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ
ให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และ ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ
โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค
จะเน้นหน่วยเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ
ให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และ ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ
โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
เพื่อ
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(Economic Progress)
เป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ
ส่วนรวม เมื่อเศรษฐกิจมี
ความเจริญเติบโต คือ มีการลงทุน
การผลิต และการบริโภคสินค้า
และบริการเพิ่มมากขึ้น
ย่อมแสดงว่ามีความสามารถ
ในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่มีจำกัด
ให้ประชากรมีความกินดีอยู่ดีขึ้น
มีสินค้าและบริการสนองความ
ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นเอง ซึ่งเรา
สามารถวัดได้จาก ตัวเลขราย
ได้ประชาชาติที่แท้จริง(real
national income) และราย
ได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชากร
ในประเทศ (per capita real
income)
เพื่อ
ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(Economic Stability)
เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ
จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาค่อนข้างคงที่
ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
ความมีเสถียรภาพภายในดูได้
จากดัชนีราคาสินค้า(Price Index)
หรือดัชนีราคาผู้บริโภค
(Consumer Price Index)
และมีระดับการจ้างงานที่สูงพอสมควร
ส่วนเสถียรภาพภายนอกดู
จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของประเทศ
กับต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลสามารถ
เข้ามาแทรกแซงได้
ถ้าเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ โดย
ใช้นโยบายการเงิน(Monetary
Policy) และ นโยบายการคลัง
(Fiscal policy) เข้าช่วย
เพื่อความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
(Economic justice)
เพราะว่าทรัพยากรธรรมชาติมี
อยู่อย่างจำกัด แต่ ประชากรมี
ความต้องการไม่จำกัด รัฐบาล
ในแต่ละประเทศ
เข้ามาจัดการการจัดสรรทรัพยากรทีมีจำกัดเพื่อก่อ
ให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรส่วน
ใหญ่อย่างเท่าเทียมกัน
โดยการกระจายรายได้ การ
ให้สิทธิ์ในทรัพย์สิน
การบริการสาธารณูประโภคขั้นพื้นฐาน
ในราคาที่ทุกคนสามารถ
ใช้บริการได้เท่าเทียมกัน
และมีการจัดเก็บภาษีอากร
ในอัตราก้าวหน้าเพื่อลด
ความเหลื่อมล้ำของรายได้ ให้มี
ความเท่าเทียมกันมากที่สุด
เพื่อให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
(Economic Freedom)
เสรีภาพทางเศรษฐกิจ คือ
การที่ประชาชนมีสิทธิ์
ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
มีเสรีในการเลือกการบริโภค
และการประกอบการอื่น
ในเศรษฐกิจซึ่งขอบเขตก็มี
ความแตกต่างกันไปซึ่งขึ้นอยู่
กับการปกครองของประเทศนั้นๆ
ในประเทศที่อยู่
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมย่อมมีเสรีภาพมากกว่า
ประเทศที่อยู่
ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคม
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็น
ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ
ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ซึ่งมีผลต่อความเป็น
อยู่ของประชาชนทุกคน ดัง
นั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมี
ความสำคัญดังนี้
ประชาชนทั่วไป ประชาชน
เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ
ถ้ามีความเข้าใจ
ในภาวะเศรษฐกิจก็จะ
สามารถปรับตัวให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
ได้อย่างทันท่วงที และจะช่วย
ให้ประชาชนเข้าใจและสามารถที่
จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
ได้อย่างดียิ่งขึ้น
ผู้ประกอบการ ไม่ว่า
ผู้ประกอบการอาชีพใดก็
ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์
ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ
ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ได้ และเป็นการลดความเสียง
จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ได้อีกด้วย
เครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มี
ความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์
ในระดับสูง
ในทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค
เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ
วัฎจักรเศรษฐกิจ
การเงินและการธนาคาร
การคลังรัฐบาล
การค้าระหว่างประเทศ
และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะ
เป็นเครื่องมือขึ้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
ในขั้นต่อไป